วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีปฏิบัติการเข้าค่ายพักแรม


วิธีปฏิบัติการเข้าค่ายพักแรม




การสร้างค่ายและการสุขาภิบาลในค่าย
การอยู่ค่ายพักแรม หมายถึง การไปพักแรมคืนในสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่บ้าน
หรือที่พักของตนเอง เช่น การไปพักแรมในค่ายลูกเสือ ตามป่าเขาต่าง ๆในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ - เนตรนารี ทุกคนจะต้องรู้จักการช่วยเหลือตนเองในทุก ๆ เรื่องต้องมีความพยายาม มีมานะและความอดทน มีความเชื่อมั่นในตนเองและรู้จักการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าโดยใช้หลักเหตุผลช่วยในการตัดสินใจ
ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งค่ายพักแรม
ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งค่ายพักแรม ลูกเสือ - เนตรนารี จะต้องทำการสำรวจ
คาดคะเนความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำเส้นทางคมนาคมเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาการเลือกสถานที่ตั้งค่ายและกางเต็นท์ควรมีลักษณะดังนี้
การเลือกสถานที่ตั้งค่ายและกางเต็นท์ควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นสถานที่กว้างโล่ง พอสำหรับการตั้งค่ายและเหมาะสำหรับที่จะจัดกิจกรรม
ระหว่างการอยู่ค่าย
2. พื้นดินบริเวณที่ตั้งค่ายควรจะเป็นดินปนทราย เป็นดินที่พื้นเป็นที่เรียบ ไม่มีน้ำขัง
3. อยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาด ปลอดภัย
4. อยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากกิ่งไม้หล่นลงมาทับ
5. ทิศทางของลมเพื่อใช้พิจารณาในการตั้งเต็นท์ที่พัก
6. สามารถหาเชื้อไฟ เช่น ฟืน เศษไม้ สำหรับหุงต้มได้สะดวก
7. การคมนาคมสะดวก ใกล้กับ โรงพยาบาล หรือ อนามัย ใกล้กับสถานตำรวจ
8. ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ก่อนจะตั้งค่ายพักแรม
รูปแบบตัวอย่างการตั้งค่าย
รูปแบบการจัดค่ายหมู่ลูกเสือ
เต็นท์และการกางเต็นท์
รูปแบบเต็นท์แบบต่าง ๆ
เต็นท์แบบโดม
เต็นท์แบบโครง
เต็นท์แบบสามเหลี่ยม
เต็นท์แบบกระโจม
เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน
เต็นท์แบบอุโมงค์
เต็นท์กระแบะ หรือเต็นท์ 5 ชาย
การสร้างเต็นท์
เต็นท์กระแบะ หรือเต็นท์ 5 ชาย
อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ในการใช้เต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรม จะใช้เต็นท์ 5 ชาย ซึ่งเหมาะสำหรับ
ลูกเสือ – เนตรนารี จำนวน 2 คน ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการกางเต็นท์ไม่มากนักและวิธีกางไม่ยุ่งยาก ส่วนประกอบของเต็นท์ 5 ชาย มีดังนี้
1. ผ้าเต็นท์ 2 ผืน
2. เสาเต็นท์ 2 ชุด ( 2 เสา ) ชุดละ 3 ท่อน ( 3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด )
3. สมอบก 10 ตัว ( หัวท้าย 2 ตัว ชายด้านล้างด้านละ 3 ตัว ประตูหน้า 1 ตัว
และหลัง 1 ตัว )
4. เชือกยึดสมอบก 10 เส้น (เชือกยาวใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์ 2 เส้น เชือกสั้น
ใช้ยึดชายเต็นท์ 6 เส้น และประตูหน้า - หลัง 2 เส้น )
การกางเต็นท์
การกางเต็นท์ 5 ชายนั้นมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. ติดกระดุมทั้ง2ผืนเข้าด้วยกัน
2. ตั้งเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสา
3. ผูกเชือกรั้งหัวท้ายกับสมอบก
4. ตอกสมอบกยึดชายเต็นท์
การรื้อเต็นท์ที่พักแรม
1. แก้เชือกที่รั้งหัวท้ายกับสมอบกออก
2. ล้มเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสาลง
3. ถอนสมอบกที่ยึดชายเต็นท์และที่ใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์
4. แกะกระดุมเพื่อแยกให้เต็นท์เป็น 2 ผืน
5. ทำความสะอาด เก็บพับให้เรียบร้อย
6. นำผ้าเต็นท์และอุปกรณ์เก็บรวมไว้เป็นที่เดียวกัน
เต็นท์สำเร็จรูป
เต็นท์สำเร็จรูปจะมีลักษณะและรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งมีวางจำหน่ายโดยทั่วไป
ง่ายต่อการประกอบและการเก็บ แต่ละแบบจะมีรูปแบบการประกอบไม่เหมือนกัน จึงให้ผู้ใช้พิจารณาตามวิธีการของเต็นท์
เต็นท์สำเร็จรูปใช้เป็นที่พักสำหรับลูกเสือทั้งหมู่ ( 1 หมู่ )เป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่
่กว่าเต็นท์กระแบะ มีน้ำหนักมากกว่าเต็นท์กระแบะสามารถพกพาไปได้สะดวก พื้นที่ที่ใช้กางเต็นท์จะมีบริเวณกว้างพอสมควร ส่วนวิธีกางเต็นท์ไม่ยุ่งยากมีลูกเสือช่วยกันเพียง 2 คน ก็สามารถกางเต็นท์ได้
ส่วนประกอบของเต็นท์สำเร็จรูป มีดังนี้
1. ผ้าเต็นท์ 1 ชุด
2. เสาเต็นท์ 2 ชุด ( 2 เสา ) ชุดละ 3 ท่อน ( 3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด หรือ 1 เสา )
3. สมอบก 12 ตัว (ยึดมุมพื้น 4 ตัว ยึดชายหลังคา 6 ตัว หัว 1 ตัว ท้าย 1 ตัว )
4. เชือกยึดสมอบก 8 เส้น ทุกเส้นมัดติดกับแผ่นเหล็กสำหรับปรับ ความตึง
หย่อนของเชือก ( เชือกสั้น 6 เส้นใช้ยึดชายหลังคา เชือกยาว 2 เส้นใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์ )
วิธีกางเต็นท์สำเร็จรูป ปฏิบัติดังนี้
1. ยึดพื้นของเต็นท์ทั้ง 4 มุมด้วยสมอบก 4 ตัว
2. นำเสาชุดที่ 1 (ต่อ 3 ท่อนเข้าด้วยกัน) มาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่1จับไว้
3. ให้คนที่ 2 ใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสา (หรือห่วง) ไปยังสมอบกด้านหน้า
( โดยผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด หรือผูกเงื่อนกระหวัดไม้ ไม่ต้องใช้เงื่อนผู้รั้งเพราะเป็นแผ่นปรับความตึงอยู่แล้ว) แล้วใช้เชือกสั้น 2 เส้น ยึดชายเต็นท์เข้ากับสมอบกให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
4. ให้คนที่ 2 เดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งต่อเสาที่ 2 เสียบเข้ารูหลังคา เต็นท์อีกด้านหนึ่ง
แล้วจับเสาไว้ ใหคนที่ 1 ปล่อยมือจากเสาที่ 1 แล้วนำเชือกยาวเส้นที่ 2 ยึดจากหัวเสาที่ 2 ไปยังสมอบกด้านหลัง ้
5. ให้คนที่ 2 ปล่อยมือจากเสาที่ 2 ได้ เต็นท์จะไม่ล้ม ทั้งสองคนช่วยกัน
ใช้เชือกยึดชายหลังคาเต็นท์ ( จุดที่เหลือ ) ให้เข้ากับสมอบกแล้วปรับความตึงหย่อนของเต็นท์ให้เรียบร้อยหมายเหตุ เต็นท์ สำเร็จรูปมีหลายแบบ มีรูปทรงไม่เหมือนกับ บางแบบคล้ายเต็นท์กระแบะ เป็นต้น ใช้สะดวกและเบามากแต่บอบบาง
เต็นท์อย่างง่าย *
วิธีนี้ปัจจุบันสะดวกมาก ทั้งยังราคาถูกหาซื้อง่ายใช้ประโยชน์ได้ดี
สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยใช้ถุงปุ๋ยหรือเสื่อเย็บต่อกันให้ได้เป็นผืนใหญ่ ๆ สามารถใช้แทนผ้าเต็นท์ได้ จะให้มีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นผืนใหญ่ใช้เป็นที่พักของลูกเสือได้ทั้งหมู่
วิธีทำ
หาไม้สองท่อนมาทำเสา ปักลงในดินให้แน่น แล้วเอาไม้อีกอันหนึ่งพาดทำเป็นขื่อ
เสร็จแล้วใช้ถุงที่เย็บหรือผ้าใบ พาดกับขื่อนั้น ที่ปลายทั้งสองข้าง รั้งเชือกกับสมอบก
การนำวัสดุต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่นจะง่าย สะดวกและประหยัดเพื่อเป็นการส่งเสริม
และปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือไทย
ข้อควรระวังในการกางเต็นท์
เมื่อต้องการกางเต็นท์หลายหลังเป็นแนวเดียวกัน ขั้นแรกเล็งให้สมอบก
และเสาต้นแรกของทุกเต็นท์อยู่ในแนวเดียวกันการกางเต็นท์แต่ละหลังให้เล็งสมอบกตัวแรก เสาแรก เสาหลัง และสมอบกตัวหลังทั้ง 4 จุดอยู่ในแนวเดียวกันเสาทุกต้นที่ยึดเต็นท์จะต้องตั้งฉากกับพื้นเสมอหลังคาเต็นท์จะต้อง ไม่มีรอยย่น สมอบกด้านข้างของเต็นท์แต่ละหลัง จะต้องเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ถ้าเต็นท์ตึงไปอาจจะขาดได้ หรือ ถ้าหย่อนเกินไปก็จะกันฝนไม่ได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้น้ำซึมได้ง่ายและถ้าหากลมพัดแรง อาจทำให้เต็นท์ขาดได้ การผูกเต็นท์ควรใช้เงื่อนผูกรั้งเพราะสามารถปรับให้ตึงหย่อนได้ตามต้องการ
การดูแลรักษาเต็นท์
การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่า
เป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว
1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี
ีจะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น
2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิด
กลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย
3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้
จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน
4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือ
ช่วยปกป้องตัวเต็นท์ จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น
5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์
สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่ บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้
6. ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น
ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป
การสุขาภิบาลภายในค่าย
หลุมแห้ง – หลุมเปียก
ควรขุดหลุมขาดลึกพอสมควร ที่ปากหลุมใช้กิ่งไม้ ใบไม้ สานเป็นแผงปิด
ใช้ใส่สำหรับเทน้ำที่ไม่ใช้ สิ่งต่าง ๆ จะติดอยู่ที่ฝาปิด จะต้องเปลี่ยนใบไม้วันละครั้งเป็นอย่างน้อยเอาที่ติดฝาปิดไปเคาะเทในหลุมแห้ง
ปัจจุบันหลุมแห้งและหลุมเปียก นิยมใช้ถุงดำแทนเนื่องจากง่ายและสะดวกเมื่อใช้
แล้วสามารถเก็บเศษอาหารเศษขยะที่ไม่ใช้ได้เรียบร้อยและนำไปทิ้งในสถานที่ ที่ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง


การอยู่ค่ายพักแรม

การไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ  และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ  ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก  ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร  ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้  มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม

อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น  ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน  ปรุงได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง  เช่น ไข่เค็ม  กุนเชียง   อาหารกระป๋อง  และจะต้องมีพริก   เกลือ  น้ำตาล  เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย

ประโยชน์ของการอยู่ค่ายพักแรม 
1.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.  ได้ออกกำลังกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง
4.  ได้ศึกษาประเพณีของท้องถิ่นต่างๆ
5.  ได้ศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ
6.  ได้ทดสอบความอดทน


การเตรียมสัมภาระไปค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี 


ของใช้ส่วนตัวที่ทุกคนต้องนำไป
  1. ชุดลูกเสือ-เนตรนารี  ยุวกาชาด ที่ถูกต้องตามระเบียบ  ใช้รองรองผ้าใบ (สวมใส่ไปในวันเดินทาง)
  2. ชุดกีฬาโรงเรียน กางเกงวอร์ม  เสื้อสีแดง
  3. ชุดกีฬาสีโรงเรียน กางเกงวอร์ม เสื้อสีฟ้า
  4. ชุดลำลอง กางขายาวเลยเข่า  เสื้อแบบสุภาพสีเข้ม  จำนวน 2 ชุด
  5. ชุดสำหรับใส่นอน
  6. ชุดชั้นใน  ถุงเท้า(มากกว่า 1 คู่)   
  7. ผ้าอนามัย พร้อมกระดาษสำหรับหอผ้าอนามัย (สำหรับเนตรนารี และยุวกาชาดที่จำเป็นต้องใช้)
  8. ผ้าถุงสำหรับใส่อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อ  2 ผืน และผ้าเช็ดตัว สำหรับเนตรนารี และยุวกาชาด    (การอาบน้ำเป็นแบบตักอาบห้องน้ำรวม)
  9. ผ้าขาวม้า และผ้าเช็ดตัว อย่างละ 1 ผืน สำหรับลูกเสือ
  10. ยารักษาโรคประจำตัว(ถ้ามี)  ยากันยุงชนิดทา
  11. สบู่ แปรงสีฟัน แชมพูสระผม และขันสำหรับตักน้ำอาบ
  12. เชือกประจำกายสำหรับผูกเงื่อน คนละ 1 เส้น
  13. ปากกาคนละ 1 ด้าม
  14. กระบอกน้ำ หรือ ขวด สำหรับใส่น้ำดื่มส่วนตัว
  15. รองเท้าแตะสำหรับใส่อาบน้ำ
สัมภาระที่นำไปรวมกันเป็นหมู่ สำหรับลูกเสือ-เนตรนารี  และ หน่วยสีสำหรับยุวกาชาด
       1.   ข้าวสาร สำหรับพอหุงรับประทานร่วมกันในหมู่ของตนรวม 6 มื้อ
2.             อาหารสดสำหรับทำกับข้าวรับประทานร่วมกันในหมู่ รวม 6 มื้อ
3.             เครื่องปรุงอาหาร ได้แก่ น้ำมัน น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่นๆตามต้องการ
4.             ไฟแช็ค  หรือไม้ขีด  เทียนไข  ขี้ใต้สำหรับติดไฟ
5.             แก้วน้ำ ช้อน  จาน ชาม (สำหรับใส่ อาหาร และใส่ข้าวรับประทาน) มีด เขียงสำหรับหั่น
6.             น้ำยาล้างจาน  สีล้างจาน และ ฝอยเหล็กสำหรับขัดหม้อและกระทะ
7.             เชือกฟาง สำหรับทำที่วางจาน ชาม หมู่ละ 1 ม้วน
8.             ผ้าพลาสติก หมู่ละ 1ผืน
9.             ไฟฉาย หมู่ละ 2- 3 กระบอก

หมายเหตุ   คำแนะนำในการเตรียมกับข้าว
1.  เนื้อสัตว์ ไม่ควรเตรียมเนื้อสัตว์สดไป เนื่องจากไม่มีตู้เย็น ควรใช้เนื้อสัตว์ผ่านการถนอมอาหารแล้วโดยการทำให้สุกด้วยการรวน คือการนำเนื้อสัตว์ เช่นหมู ไก่ กุ้ง ฯลฯ หันเป็นชิ้นใส่ลงในกระทะผัดกับน้ำมันจนสุกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลตามชอบ แล้วตักแบ่งใส่ถุงๆละ 1 มื้อ  สามารถนำไปประกอบอาหารประเภทต่างๆได้ โดยไม่เสีย หรือบูดง่าย  หรือจะนำอาหารที่ผ่านการถนอมอาหารมาแล้วก็ได้ เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ฯลฯ 
2.  ผัก   ควรเป็นผักที่ไม่เหี่ยวง่าย เช่น กะหล่ำ   แครอท  มะเขือเทศ  หอมใหญ่  พริกหยวก ฯลฯ
3.  อาหารแห้ง เช่น วุ้นเส้น สาหร่าย ไข่ ฯลฯ
                สิ่งที่โรงเรียนจัดเตรียมให้
1.             เตาสำหรับหุงข้าวและทำกับข้าว
2.             หม้อ พร้อมฝา สำหรับหุงข้าว 1 ใบ   ( ลูกเสือ-เนตรนารี และยุวกาชาดควรฝึกหัดหุงข้าวด้วยตนเองทั้งแบบเช็ดน้ำ หรือแบบไม่เช็ดให้ชำนาญก่อนไปค่ายพักแรม)
3.             กระทะ 1ใบ
4.             ตะหลิว และ ทัพพี อย่างละ 1 ด้าม
5.             ถ่านสำหรับหุงข้าว
6.             น้ำสำหรับดื่ม   ประกอบอาหาร และล้างภาชนะ ระหว่างการอยู่ค่าย

ข้อควรปฏิบัติก่อนไปค่ายพักแรม

1.             ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด แต่ละหมู่ หรือหน่วยสี ต้องประชุมนัดหมายร่วมกัน เพื่อแบ่งความรับผิดในการจัดหาและนำสิ่งของต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นไปค่ายพักแรม
2.             แต่ละหมู่ และหน่วยสี ต้องแบ่งหน้าที่รับผิดชอบระหว่างการอยู่ค่ายให้ชัดเจน เช่น  นายหมู่ รองนายหมู่ คนครัวในแต่ละมื้อ ฝ่ายบริการในแต่ละวัน ฯลฯ เพื่อให้การทำกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันตามเวลา
3.             แต่ละกองที่แสดงรอบกองไฟร่วมกันควรนัดหมายฝึกซ้อมการแสดงร่วมกันก่อนไปค่ายพักแรม
4.              ลูกเสือ ตัดผมให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ถ้าผมยาวต้องตัดก่อนถึงวันไปค่ายพักแรม มิเช่นนั้นจะมีผลต่อการประเมิน ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน

การเตรียมตัวในวันเดินทาง

1.             แต่งกายด้วยชุดลูกเสือ-เนตรนารี และยุวกาชาด ให้ถูกต้องครบถ้วน เนตรนารี และยุวกาชาดถ้าผมยาวต้องถักเปียให้เรียบร้อย  และเดินทางมาถึงโรงเรียน ก่อนเวลา 07.00 น.
2.             รับประทานอาหารเช้ามาก่อน เพราะที่โรงเรียนไม่มีอาหารเช้าจำหน่ายเนื่องจากร้านค้าไม่มาขาย และเตรียมอาหารมื้อกลางวันที่พกพาได้ง่ายมารับประทานบนรถ เนื่องจากเมื่อเดินทางถึงค่ายจะปล่อยตัวเดินทางไกลทันที
3.             ทำภารกิจส่วนตัว  เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง รถจะไม่แวะพักกลางทางเพื่อให้เข้าห้องน้ำ
4.              เข้าแถวรายงานตัวตามคันรถที่นั่งที่ลานเอนกประสงค์ของโรงเรียน เพื่อให้ครูเช็คชื่อก่อนขึ้นรถ 

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

วิดีโอที่ชื่นชอบ


เพลง ใจความสำคัญ




การตัดต่อภาพใส่พื้นหลังใหม่







แกล้งคนสุดฮา ตอน ท้องก่อนวัย







mr been



วาดนารูโตะ 120นาที ByBMairgear









วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม



เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<



2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย


อ่านต่อ: http://www.thai-